วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

                                                                  หน่วยการเรียนรู้ที่ 
                                                           จิตวิทยาการเรียนการสอน



ความหมาย จิตวิทยา
      “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
 แนวทางในการศึกษา 
         ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
 จิตวิทยากับการเรียนการสอน 
      จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 
      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
           แก้ปัญหาการเรียนการสอน  
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 
ประการแรก         มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน 
ประการที่สอง      นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
 หลักการสำคัญ 
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยาครู 
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ
ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” แปลว่า หนัก  สูงใหญ่ 
  -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
  -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ
 บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน 
ธีรศักดิ์ (2542) ได้กล่าวถึง ประเด็น ดังนี้
-                   บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
-                   บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
-                   บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
-                   บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม
รูปแบบของครู (Models of Teachers) 
Fenstermacher และ Soltis (1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น ประเภท 
1.  The Executive Model                 ทำหน้าที่คล้ายบริหาร
2.  The Therapist Model                มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
3.  The  Liberationist  Model        ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้
      Parsons and others (2001) กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา ดังนั้นครูอาจมีบทบาท ดังนี้ 
-                   รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
-                   มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
-                   ทำหน้าที่ผู้จัดการ  หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
-                   ให้คำปรึกษา  รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน
บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม  ดังนี้ 
-                   เป็นผู้ชำนาญการสอน  เป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
-                   เป็นผู้จัดการ   เป็นผู้นำ
-                   เป็นผู้ให้คำปรึกษา  
-                   เป็นวิศวกรสังคม
-                   เป็นตัวแบบ
 หลักการที่สำคัญสำหรับครู 
          Mamchak and Mamchak  (1981)  ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน
 การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน 
-                   ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น 
-                   ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน
-                   ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้ 
-                   ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน 
-                   ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน 
-                   ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน  
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535) 
จิตวิทยาการเรียนรู้
.....การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้  จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
       1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
       2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
       3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
       4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.
จิตวิทยาพัฒนาการ
        เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้
       การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร
       หลักของการเรียนรู้ มี รูปแบบ คือ.....1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก.....2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน.....โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข......3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
.....เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก
.....จิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
.....จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
.....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว.....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส.....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น.....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น กลุ่ม.....1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ.....2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง.....3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
.....ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.....1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง.....2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ.....3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ.....4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
จิตวิทยาการสอนตามวัย
            จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี
 เด็กในวันนี้เริ่มที่จะเข้ารับการอบรมสั่งสอนเรื่องของศาสนาได้อย่างเป็นทางการแล้ว 
เราสามารถเริ่มแนะนำให้พวกเขารู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ โดยผ่านทางเรื่องราวต่างๆ จากพระคัมภีร์ การนำเสนอเรื่องเหล่านี้มิใช่เพื่อให้เกิดความประทับใจหรือเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อพระเจ้าในระยะยาวอีกด้วย
             อันที่จริงแล้ว เรื่องราวต่างๆ ในพระคัมภีร์ล้วนแต่เป็นเรื่องที่อมตะ เรื่องที่น่าสนใจและน่าจดจำทั้งนั้น เช่น นอแอ ยอแซฟและพี่น้อง โยนาในท้องปลาวาฬ เป็นต้น
        ดังนั้นบทเรียนหลักๆ สำหรับเด็กในวัยนี้ ควรที่จะมาจากเรื่องเล่าต่างๆ เหล่านี้ โดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจของพวกเขา การใช้เพลง การทำใบงานที่ง่านแต่ท้าทายความสามารถและให้หัวข้อสำหรับเรียน โดยมีพื้นฐานจากความคิดที่มีอยู่ในพระคัมภีร์เมื่อนำเสนอเรื่องในพระคัมภีร์ไม่ว่าในเรื่องใด การอธิบายความหมายในแต่ละเรื่องนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็ก ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเล่าถึงเรื่องยอแซฟและพี่น้อง เราก็สามารถพูดถึงผลเสียของการชิงดีชิงเด่นในสังคมของเด็กๆ ได้
 วัตถุประสงค์ของการสอนในวัยนี้
1. สนับสนุนเด็กๆ ได้แบ่งปันความรู้สึกของตนเองแก่กันและกัน
2. ช่วยเด็กๆ ให้รู้จักประยุกต์เรื่องในพระคัมภีร์เข้าสู่ชีวิตจริง
3. พัฒนาลักษณะที่ดีที่มีตามธรรมชาติของเด็กๆ ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น
4. ช่วยแก้ไขลักษณะที่ยังไม่ดีของเด็กๆ
ลักษณะของเด็กวัยอนุบาล
         เด็กในวัยนี้มีความสามารถยิ่งใหญ่ในการเรียนรู้เรื่องพระเจ้าและยินดีที่จะเปิดตัวเองต้อนรับพระเจ้า เขาพร้อมที่จะให้ความไว้วางใจและมีความต้องการที่จะเป็น ผู้ให้และผู้รับในเรื่องของความรัก เรากำลังอยู่ในกระแสแห่ง การสื่อสร” เด็กๆ สมัยนี้ถูกสื่อต่างๆ เข้าครอบงำทั้งทางเสียงและทางภาพ การนำเสนอด้วยการ์ตูน การโฆษณา ล้วนแต่นำข่าวสารที่สร้างค่านิยมที่หลากหลายให้กับพวกเขา รายการทางโทรทัศน์ที่นำเสนอการ์ตูนและภาพยนตร์ล้วนแต่สอนพวกเขาว่า คนที่แข็งแรงที่สุดย่อมเป็นผู้ที่ดีที่สุด นั่นคือสามารถที่จะตบตีหรือทำร้ายผู้ใดก็ได้
         เด็กในวัยนี้ยังมีความรู้สึกที่ฝังแน่นอยู่กับเรื่องความยุติธรรม ทุกคนจะต้องได้รับอะไรที่เท่าเทียมกัน ถ้าฉันใจดีต่อเธอ เธอต้องใจดีต่อฉัน ใครที่เล่นตามกฎกติกาย่อมเป็นผู้ชนะ ถ้าหากมีเรื่องกัน การลงโทษจะต้องทัดเทียมกัน ไม่มีมากหรือน้อยกว่า สิ่งที่ท้าทายเราในการสอนคำสอนก็คือการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีตามธรรมชาติของเด็กๆ ให้เติบโตขึ้นและให้ชัดเจนขึ้นในขณะที่ยังโน้มน้าวได้ง่ายในวัยนี้ แม้ว่าเมื่อโตขึ้นเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตามเด็กในวัยนี้มักจะให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกับคุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เขารู้สึกว่าให้ความเป็นธรรมแก่เขา แต่ถ้าเขาเห็นว่าผู้ใหญ่ไม่ยุติธรรม เขาจะลดความไว้เนื้อเชื่อใจลง เขาต้องการที่จะมองเห็นว่าพระเจ้ายังคงทำงานอยู่ในท่ามกลางความอยุติธรรมด้วย และความยุติธรรมของพระเจ้าจะมีชัยชนะในที่สุด แน่นอน เด็กๆ ยังมัลักษณะบางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่ค่อยดีนัก คำว่า ของฉัน” “ตัวฉัน” เป็นสิ่งที่เด็กในวัยนี้ ได้เรียนรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาจาก การสงวนไว้สำหรับตนเองไปสู่ การเห็นแก่ตัว” “การรังแกผู้อื่น” และ การมีความลำเอียง แต่ก็มีเด็กบางคนที่มีจิตใจกว้างขวางและใจดีโดยธรรมชาติ แต่เด็กส่วนใหญ่ เรียนรู้จักการแบ่งปันจากตัวอย่างและจากการที่ได้รับคำชมเชยและความสนใจต่อความใจกว้างของเขาจากผู้ใหญ่ เด็กๆ จะรู้จักการแบ่งปันอย่างเต็มใจเมื่อเขาเติบโตขึ้นและมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เด็กในวัยสี่ห้าขวบบางคนอาจจะเป็นคนที่ไม่ยอมแบ่งปันอะไรให้ใครเลยก็ได้ เขาจะมีความสุขอยู่กับสิ่งที่เขาสนใจ เล่นอยู่ได้ตามลำพัง แต่เด็กส่วนใหญ่เข้าสู่วัยสิบขวบก่อนที่จะเรียนรู้ถึงความสุขจากการแบ่งปันสิ่งที่ผู้อื่นต้องการและความสุขจากการที่ทำให้ผู้อื่นมีความสุข
ลักษณะต่อไปนี้จะช่วยให้ผู้ทำงานได้เกิดความเข้าใจเด็กๆ และสามารถสร้างความคาดหวัง
ในการทำงานกับพวกเขาได้อย่างถูกต้อง

 1.ชอบเรื่องเล่าและการร้องเพลง
 2.เรียนรู้จากการกระทำ มิใช่การให้นั่งอยู่เฉย
 3.เรียนรู้โดยการเลียนแบบอย่างจากผู้ใหญ่ ดังนั้นการสอนต้องมีแบบอย่างและบอกถึงสิ่งที่คาดหวัง
 จะให้เกิดขึ้น เช่น กล่าวว่า ให้เราหลับตาลง คิดถึงพระเยซูและวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์  ขณะที่บอกเด็กๆ ครูต้องหลับตาและภาวนาด้วย
 4.ยากต่อการให้เปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นต้น จากการให้เลิกเล่นอิสระ
 เพื่อให้เข้าสู่กิจกรรมการเรียน ให้ครูสอนซ้ำเรื่องที่สอนแล้วหลายๆ ในแต่ละสัปดาห์ 
 และให้ใช้เพลงเพื่อการเปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เพลงจะช่วยให้เด็กๆ เคลื่อนที่
 ได้อย่างเต็มใจมากขึ้น
 5.เด็กๆ มีความต้องใจในช่วงสั้นๆ (เช่น สำหรับเด็กวัย ขวบ ประมาณ นาที ส่วน 4 – 5 ขวบ ประมาณ 10 นาที) เด็กในวัย ขวบ ชอบที่จะเล่นตามลำพัง แม้ว่าจะยืนอยู่เคียงข้างเพื่อน เขาต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเด็กในวัย และ ขวบชอบที่จะเล่นกับเพื่อเพียงคนคนหรืสองคนไม่ชอบกลุ่มใหญ่ การแนะนำสมาชิกใหม่กับเพื่อนเพียงคนหรือสองคนจะช่วยลดความกลัวที่จะแนะนำเขาต่อหน้ากลุ่มใหญ่โดยทันทีทันใด
แนวความคิดต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านได้ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น                                                 
 และจะช่วยให้เกิดความร่วมมือและพฤติกรรมเชิงบวกแก่เด็กๆ ของท่าน
 1.เด็กทุกคนต้องการคววามรักและการยอมรับ ท่านจะต้องสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นในขณะที่ท่านอยู่กับพวกเขา
 2.ใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเพื่อการควบคุมชั้น เช่น การปรบมือหรือการเป่านกหวีดหรือการใช้เพลงใด เพลงหนึ่งที่ตกลงกันไว้ เพื่อให้เด็กรู้ว่าตนเองต้องหยุดกระทำในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่และต้องให้ความสนใจครู
 3.ใช้คำพูดเพื่อยืนยันถึงพฤติกรรมที่ต้องการบอกกับเด็กๆ เช่น ครูชอบเพื่อนๆ ที่นั่งข้างหลังจังเลย 
 เพราะเขากำลังแบ่งดินสอกันใช้
 4.เด็กๆ ชอบที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือ ท่านควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เข้าช่วยเหลืออะไรที่พอทำได้ 
 เช่น การแจกกระดาษ การเก็บขยะ การลบกระดาน การช่วยถือของ การแบ่งความรับผิดชอบ
 จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าห้องเรียนนี้เป็นของพวกเขา
 5.เด็กๆ ต้องการที่จะรู้ว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้ไม่ประพฤติผิดหรือสับสน 
 ดังนั้นควรที่จะตั้งกฎง่ายๆ สำหรับการปฏิบัติร่วมกันในห้องเรียน
6.เด็กแต่ละคนมีรูปแบบในการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีถ้าท่านจับจุดเขาถูกต้อง
 7.สุดท้าย การภาวนาอย่างสม่ำเสมอสำหรับเด็กๆ แต่ละคนที่พระเจ้าส่งมาให้ท่า ตระหนักถึงภารกิจและบทบาทของท่านในฐานะที่ท่านเป็นเครื่องมือแห่งความรักของพระเยซูคริสตเจ้า
จิตวิทยาการการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี
เด็กวัยอายุ ปี
               เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่ผ่านโรงเรียนระดับอนุบาลมาแล้ว บางคนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวในการเรียนระดับประถม เพราะในระดับอนุบาลไม่ต้องเรียนอะไรมากเพียงแต่การเตรียมความพร้อม ร้องรำทำเพลง แต่เมื่อต้องเข้าสู่ระบบที่ใหญ่กว่าอาจจะทำให้เด็กในวัยนี้รู้สึกอึดอัดจนเกิดความเครียด ไม่อยากมาโรงเรียน หรือทำเป็นไข้ไม่สบายหรือเป็นโรคปวดท้องขึ้นได้ดังนั้นในการเรียนคำสอนนั้น เราจะต้องสร้างบรรยากาศของห้องคำสอนให้แตกต่างไปจากห้องเรียน
                 เด็กในวัยนี้ยังยึดคุณพ่อคุณแม่เป็นวีรบุรุษอยู่อย่างมาก จึงเหมาะสมที่จะแนะนำนักบุญทั้งชายและหญิงให้แก่เด็กๆ โดยแนะนำว่าพวกเขาให้เห็นว่าบุคคลที่เป็นนักบุญเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคนที่อ่อนแอเหมือนกับเราแต่พวกเขาได้พยายามที่จะเสริมสร้างตนเองจนมีความเข้มแข็งขึ้นมาได้บรรดานักบุญล้วนมาจากภูมิหลังของชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนมาจากสามัญชน บางคนก็เป็นถึงพระมหากษัตริย์หรือราชินี แต่ที่พวกเขาสามารถเป็นนักบุญได้นั้นก็เพราะพวกเขาได้เลือกที่จะดำเนินชีวิตแห่งความรักตามแนวทางแห่งพระวรสาร บรรดานักบุญทราบดีว่าพระเจ้าทรงรักพวกเขา และพวกเขาก็รักพระองค์ ตอบโดยการดำเนินด้วยความปิติยินดี การเข้าช่วยเหลือผู้อื่น การยืนอยู่ข้างความถูกต้องแลพยายามที่จะร่าเริงอยู่เสมอแม้ว่าจะประสบกับความยุ่งยากลำบากในชีวิต 
นักบุญไม่ได้กล่าวแต่คำ ตอบรับ” กับพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังต้องการที่จะเป็นมิตรกับพระเจ้ามากกว่าสิ่งใดๆ และต้องการที่จะดำเนินชีวิตเยี่ยงบุตรของพระองค์บุคคลในพระคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงเช่น ดาเนียล โยนา ดาวิด โยนาธาน ฯลฯ จากพันธสัญญาเดิม เปโตร เปาโล มัทธิว ฯลฯ จากพันธสัญญาใหม่
เด็กวัยอายุ ปี
            เด็กวัยนี้ชอบฟังเรื่องเล่าต่างๆ เขาจะสนุกไปกับเรื่องเล่าต่างๆ ได้อย่างไม่รู้เบื่อ ครูจึงต้องพยายามตอบสนองต่อความต้องการโดยพยายามที่จะเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีอย่างเช่นพระเยซูเจ้าเด็กในวัยนี้ยังอยู่ในวัยที่โน้มน้าวจิตใจได้ง่ายและเริ่มที่จะยอมรับความคิดของผู้ใหญ่อื่นที่ไม่ใช่พ่อหรือแม่หรือคนในครอบครัวของตน มีความต้องการที่จะรับคำชมเชยจากครูสูง ครูจะต้องสนองต่อความต้องการของเด็กในเรื่องนี้ และฝึกฝนเด็กให้เป็นเช่นพระคริสต์และให้แสดงความรักต่อเด็กแต่ละคน
 หลักสูตรคำสอนที่จะให้แก่เด็กในวัยนี้คือการแนะนำชีวิตของพระคริสตเจ้าตั้งแต่การบังเกิด การทนทุกข์ทรมาน การสิ้นพระชนม์ การกลับคืนชีพ และอัศจรรย์ต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่แสดงว่าพระเยซูทรงรักและห่วงใยประชาชน พระอานุภาพของพระองค์ทรงยิ่งใหญ่เหนือสิ่งต่างๆ แม้นกระทั่งความตาย ทั้งหมดนี้ครูจะต้องเล่าให้อยู่ในรูแบบที่ซื่อๆ ง่ายๆครูอาจจะใช้ปฏิทินพิธีกรรมโดยเริ่มตั้งแต่เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ครูสามารถอธิบายถึงชีวิตของแม่พระและภารกิจของพระนาง เรื่องแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ดและฟาติมา รวมทั้งการฉลองต่างๆ ที่เกี่ยวกับแม่พระ บทบาทของนักบุญ เทวดา และอำนาจของพระสันตะปาปา พระสังฆราช
วัตถุประสงค์ในการสอนคำสอนเด็กในวัยนี้คือ
-ให้เด็กๆ สามารถเล่าเรื่องของพระเยซูและอัศจรรย์ต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงกระทำ
-ให้เด็กๆ ได้คุ้นเคยกับปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร
-รักและเลียนแบบแม่พระ
-เข้าใจถึงธรรมประเพณีปฏิบัติของพระศาสนจักร
จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 8- 9 ปี
วัย 8 ขวบ
  ในวัยนี้เหมาะที่ครูจะฝึกอบรมพวกเขาให้มีสำนึกแห่งการรู้จักตนเอง  (Self – awareness) ต่อสังคม ความสนใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเองและผู้อื่น ที่อยู่รอบข้าง การยอมรับตนเอง และความหมายของอิสรภาพลักษณะเด่นของเด็กในวัยนี้คือการเข้าสนิทสนมกับกลุ่มเพื่อนสนิทของตนหรือมี จิตตารมณ์กลุ่มที่เหนียวแน่นมาก การเข้าสังกัดกลุ่มเพื่อนนี้เป็นโอกาสให้เด็กๆ ได้รับประสบการณ์แห่งคำว่ามิตรภาพ ยังเป็นการตรวจสอบความสามารถในการเป็นผู้นำหรือผู้ตาม การรู้จักทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและเป็นการประเมินตนเองในการมี ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ของเขา เด็กในวัยนี้ต้องการการยอมรับเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มและการประกาศอย่างสาธารณะถึงความสำเร็จหรือการได้รับเกียรติที่เป็น เครื่องหมาย สัญลักษณ์ พวกเขาต้องการการสรรเสริญ การชื่นชมจากคนอื่นๆ ในกลุ่มโดยการแสดงออกมาให้เห็นว่าเขาสามารถทำอะไรบางสิ่งได้อย่างดี เด็กในช่วงวัยนี้เริ่มรู้สึก ได้ถึงความแตกต่างของผู้คนรอบข้าง เขาอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ มากขึ้น คนแปลกหน้า คนต่างชาติ ต่างศาสนาและเผ่าพันธุ์ สนใจเกี่ยวกับผู้คนต่างๆ สถานที่และสิ่งใหม่ๆ จากสิ่งต่างเหล่านี้พวกเขาสามารถเสริมสร้างทัศนคติของตนเองขึ้นมาได้ในวัยนี้เด็กๆ จะเข้าใจความหมายของคำว่าบาปก็โดยการเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์นั่นคือบาปคือการปฏิเสธความรักของพระเจ้าปฏิเสธที่จะตอบสนองความรักของพระ เจ้าโดยรู้ตัวและเต็มใจในการกระทำสิ่งที่ผิด เด็กในวัยนี้มีอุปสรรคเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด พวกเขามักจะคุ้นเคยกับความรู้สึกที่ผิด ซึ่งอาจมาจากการกระทำผิดๆ จริงๆ ของตน แต่ความรู้สึกนี้อาจจะเข้าไปเชื่อมโยงอย่างผิดๆ จริงๆ ของตน แต่ความรู้สึกนี้อาจจะเข้าไปเชื่อมโยงอย่างผิดๆ กับพฤติกรรมที่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นเด็กๆ ควรเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่างความผิดกับสิ่งที่ผิด พวกเขาอาจจะเกิดมีมโนธรรมที่ละเอียดอ่อนหรือเป็นโรคประสาท เล็กน้อยเกี่ยวกับความประพฤติหรือเกิดความกลัวที่จะกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อโอกาสอำนวยให้
เด็กวัย 9 ขวบ
                เด็กในวัยนี้ควรที่จะให้การอบรมเป็นพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเพื่อหรือมิตรภาพที่มีพื้นฐานอยู่บนความรัก เด็กในวัยนี้กำลังจะเข้าสู่พิธีการรับมหาสนิทครั้งแรกและศีลแห่งการคืนดี จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ครูจะต้องช่วยเด็กเหล่านี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ                                                              
-เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่งและรักศีลมหาสนิท โดยสำนึกว่าศีลนี้เป็นของขวัญที่พระเยซูมอบให้แก่เราด้วยความรัก                                                                                                                                                -ให้เกิดการยอมรับว่าเราต้องเป็นทุกข์เสียใจที่เราได้ผิดพลาดต่อเรื่องของความรักของพระเจ้าและมีความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นเพื่อจะได้เข้ารักกับการให้อภัยจากพระเจ้า การคืนดีเป็นเครื่องหมายของการให้อภัยและความ มีเมตตาของพระบิดาที่น่ารักและเป็นเครื่องช่วยให้เรามุ่งมั่นที่จะแสดงความรักต่อพระเจ้าดังเช่นที่พระองค์ทรงรักเรา เด็กๆ ต้องการความเป็นมิตรและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครูของพวกเขา ครูจึงควรที่จะต้องสังเกตสิ่งที่พวกเขากระทำและชมเชยความพยายามของพวกเขาด้วย พวกเขา ต้องการรูปแบบเพื่อจะได้เลียนแบบและเรียนรู้จากคำแนะนำที่ได้รับอย่างเคร่งครัด
 วัตถุประสงค์สำหรับการเรียนของวัยนี้คือ
 1.ให้มีประสบการณ์แห่งการเป็นส่วนหนึ่ง
 2.ตระหนักถึงคุณค่าของคำว่ามิตรภาพ
 3.สามารถแยกแยะถูกและผิดได้
 4.รักศีลมหาสนิท
 5.พัฒนาทัศนคติแห่งการรับใช้
รายละเอียดของเด็กวัย 9 ขวบ

 เด็กวัย 9 ขวบต้องการที่จะเป็นอิสระ แม้ว่าเขายังต้องพึ่งพาผู้ใหญ่อยู่ บางวันเขาก็ดู เหมือนว่าจะเป็นผู้ใหญ่อย่างน่าประหลาดใจ แต่อีกบางวันเขากลับทำเหมือนเด็กทารก ถ้าหากเขาถูกดุด่าว่ากล่าวอย่างไม่เหมาะสมหรือแสดงความไม่พอใจเขาก็จะกลับเป็นกบฏและไม่ยอมสมาคมด้วยในสายตาของเขาเขารู้สึกว่าตนเองโตแล้วและอยากให้ เคารพความเป็นอิสระของเขาวัยนี้มีลักษณะเด่นอยู่กับการผูกพันอยู่กับกลุ่มเพื่อน การรับอิทธิพลจากเพื่อน การแข่งขันและการร่วมมือกับผู้อื่น ความผูกพันปรับระดับจากครอบครัวมาสู่กลุ่มเพื่อนๆสนใจในเรื่องของ กลุ่ม” สูงส่วนการละเล่นนั้นยังแยกกันเล่นแยกกันอยู่ระหว่าง เด็กชายและเด็กหญิง เมื่อเด็กชอบเล่นและทำงานเป็นกลุ่ม กิจกรรมกลุ่มในห้องคำสอนจึงเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงทักษะที่แสดงออกถึงความรักและความอดทน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูควรจัดกิจกรรที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกล่า หรือกิจกรรมที่ต้องเป็นการร่วมมือกันและจัดพลัดเปลี่ยนหน้าที่กันรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ ครูจะต้องสนับสนุนให้เด็กๆ รู้จักการประนีประนอม การแบ่งปันอุปกรณ์และขนมนมเนย การรับฟังเมื่อเขาพูดและ การยอมรับความคิดเห็นของเขา นักจิตวิทยาจำนวนมากยอมรับว่า เด็กในวัยนี้สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้แล้ว เด็กๆ เริ่มที่จะเข้าใจหลักศีลธรรมที่เป็นนามธรรมได้บ้าง โดยจะตัดสินเรื่องคุณธรรมได้เป็นกรณีๆ ตามสถานการณ์ที่เคยได้รับการเรียนรู้มาแล้ว เขาสามารถตัดสินเรื่อง ถูก” หรือ ผิด” ได้ตามเนื้อหาแต่ยังขาดการตริตรองหรือการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมต่างๆความขัดแย้งหรือความสับสนที่เกิดกับเด็กในวัยนี้ก็คือสิ่งที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากทางบ้านกับสิ่งที่ได้จากกลุ่มเพื่อน การให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหาทางศีลธรรมด้วย ตัวเองนั้น ครูสามารถให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมติ การให้เล่นแบบนี้จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรากระตุ้นจิตสำนึก และจูงใจให้คิดหาทางแก้ไขปัญหาและผลที่จะตามมาวัย 9 ขวบนี้มีความโน้มเอียงที่จะยึดกฎและระเบียบเป็นธรรมชาติ เขาจะเสริมสร้างลักษณะนิสัยของตนเองและง่ายที่จะยอมรับรูปแบบทางพฤติกรรมที่เขารู้จักและชื่นชอบสิ่งนี้จึงเป็นจุดสำคัญที่เราสามารถวางพื้นฐานลักษณะนิสัยตามวิถีทางแห่งชีวิตคริสตชนและโน้มน้าวให้เด็กกระทำในสิ่งที่ดีได้ง่ายและด้วยความยินดีเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำอะไรแต่เพียงภายนอก ครู เช่น พระเจ้าทรงต้องการความรักแท้ของเรามากกว่ากระทำแต่เพียงภายนอก พระองค์ต้องการให้เราเคารพสิทธิของผู้อื่นเพราะเราห่วงใยต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขามากกว่ากลัวพระองค์จะลงโทษเป็นต้น
จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 10 ปี
เด็กวัย 10 ขวบ
 เด็กวัยนี้ให้คุณค่ากับเรื่อง ความยุตธรรม ความจงรักภักดี และการรับผิดชอบ สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรเป็น ของฉัน” หรือ ของเธอ” โดยปรกติเขามักจะพูดความจริงและยอมรับการตำหนิเมื่อได้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป บางครั้งอาจจะมีเด็กบางคนที่ชอบทำลายข้าวของหรือรังแกเด็กที่ไม่อยู่ในกลุ่มของตน ความผิดปรกตินี้สามารถแก้ไขได้ถ้าเด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเราถ้ากลุ่มเพื่อนของเขาเป็นคนที่ไม่มีศาสนา เขาก็อาจจะละเลยการสวดภาวนาหรือการเข้ารับศีลศักดิ์สิทธิ์ แต่โดยทั่วไปแล้วเด็กในวัยนี้มีความสนใจในเรื่องของศาสนา ความสนใจนี้จะเพิ่มขึ้น ถ้าเขาได้รับรู้ว่าสิ่งที่ดีๆ ในชีวิตของเขาเป็นพระพรของพระเจ้าและเป็นเครื่องหมายแห่งความรักของพระองค์การเรียนการสอนสำหรับเด็กในวัยนี้ ต้องเป็นเรื่องที่สนุก เช่น การเล่นเกมที่เกี่ยวกับคำต่างๆ การถอดรหัส เกมปริศนา อะไรเอ่ย เป็นต้น ความจำเป็นสิ่งที่จะทำให้เขารู้สึกว่าตนประสบผลสำเร็จ เขามีพลังในการทำงานที่สร้างสรรค์งานที่ท้าทาย และงานที่ใหม่ๆ ไม่จำเจ ทำงานอดิเรก หรืองานโครงการที่ยาวกว่าได้นานถ้าเขาได้รับการสนับสนุนและการชื่นชม เขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความล้มเหลวถ้าหากว่าเขามีประสบการณ์แห่งความสำเร็จมาแล้ว พลังเหล่านี้ครูควรค้นให้พบในเด็กแต่ละคนนำออกมาใช้ในสิ่งที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นเด็กๆ อาจจะใช้พลังเหล่านี้ไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ ครูควรมอบหมายงานหรือหน้าที่ตามความสามารถของเขา เขาชื่นชอบการยกย่องงานของเขามากกว่าการไม่ได้รับรู้หรือไม่ชมหรือไม่ให้รางวัลเขาเลย
 เด็กในวัยนี้ต้องการได้รับความรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่ไว้วางใจ ครูควรเป็นเพื่อนกับเขา เป็นต้น กับเด็กๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น เด็กที่ชอบก่อปัญหาว้าเหว่ ขี้อาย เรียนช้า เด็กเหล่านี้จะต้องไม่เรียกเขาว่าเป็นเด็กเลว เด็กขี้เกียจหรือโง่อย่างเด็ดขาดครูต้องพยายามค้นหาสาเหตุของความผิดปรกติของเขาให้พบ เพราะบางครั้งปัญหาเกิดจากความเข้าใจผิดเท่านั้นเองซึ่งเราสามารถแก้ไขได้โดยการพูดคุยทำความเข้าใจกัน เป้าหมายของการอบรมคำสอนที่จะใช้กับเด็กในวัยนี้คือ การเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวของพระเจ้าโดยเน้นความรู้สึกแห่งการเป็นเจ้าของ การดำเนินชีวิตและการแบ่งปันกันในครอบครัวของผู้มีความเชื่อทั้งนี้เพื่อมิให้การเติบโตในชีวิตแห่งความเชื่อนั้น แต่เป็นการเติบโตในทุกมิติของชีวิตอีกด้วยเนื้อหาที่จะสอนสำหรับเด็กในวัยนี้คือ ความรู้ทั่วไปของศีลศักดิ์สิทธิ์ศีลล้างบาป ศีลกำลังและศีลมหาสนิทเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน ศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ทำให้เราได้รับชีวิตของพระคริสต์ และดำรงชีวิตอยู่ในพระคริสต์ศีลแต่งงานและศีลบวช ทำให้ประชาการของพระเจ้าเพิ่มขึ้น
ศีลคืนดีและศีลเจิมผู้ป่วยนำพลังแห่งการรักษามาให้เราเราสามารถสอนเด็กของเราในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตกลุ่มได้ทั้งหมด เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การบริการรับใช้ การห่วงใย การเอาใจใส่ผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่สังคมรังเกียจ หรือไม่ต้องการคนที่ด้อยกว่า คนที่ถูกทอดทิ้ง เพื่อที่เขาจะได้ดำเนินชีวิตได้อย่างกลมเกลียวกับทุกๆ คน
วัตถุประสงค์ของการอบรม
 1.ช่วยให้เด็กๆ ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคริสตชนและได้รับการเรียกเขามาเพื่อรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรักและความเข้าใจ
 2.เข้าใจได้ว่าการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้นเรียกร้องให้มีการให้อภัยและการยอมรับผู้อื่นอย่างไม่มีสิ้นสุด
 3.พัฒนาทัศนคติแห่งความห่วงใย การเอาใจใส่และการเป็นหนึ่งเดียวกันของกลุ่ม
 4.รักชื่นชอบในขนบธรรมเนียมของพระศาสนจักรในเรื่องของพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ประการและพิธีฉลองต่างๆ ตลอดปีพิธีกรรม
จิตวิทยาคำสอนวัยเยาวชน 12 ปี – 20 ปี
ลักษณะเชิงบวก
                         มีเอกลักษณ์ของตน
                         มีความมั่นคงในตนเอง
                         เป็นตัวของตัวเอง แสวงหารูปแบบที่ตนประทับใจ
                         มีความแน่นอนในบทบาททางเพศของตน
                         เชื่อผู้นำ มุ่งมั่นในอุดมคติของตน
ลักษณะเชิงลบ
                         สับสนในบทบาทของตนเอง
                         จำกัดบทบาทของตนอย่างแน่นอนไม่กล้าออกนอกกรอบที่วางไว้
                         ตัดสินไม่เป็น สับสนในเรื่องเพศของตน สับสนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้ใหญ่
                         สับสนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับค่านิยมใหม่
พฤติกรรม  :ความศรัทธา บูชาคนเก่ง
คุณธรรมขั้นพื้นฐาน :ความเชื่อ
บทบาทของพ่อแม่ :ให้อิสระมากขึ้น ให้เขาบริหารเวลาและการเงินส่วนตัวของเขา
                            ส่งเสริมให้เขาเป็นตัวของตัวเอง แต่อย่าให้เสียวินัยของครอบครัว
                            ให้เขาได้ร่วมกลุ่มกิจกรรมกับเพื่อนๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาสนใจ
                            โดยการพูดคุยแนะนำชมเชย
บทบาทของครูคำสอน :
          ใกล้ชิดเด็กมากขึ้น สังเกตความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของเด็ก ติดตามสถานการณ์ของวัยรุ่นให้ทันต้องสอนให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่น จัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ใกล้ตัวของเขา ทำตัวให้เด็กวางใจการอบรมและการสอนคำสอนจะต้องคำนึงถึงปัญหาเฉพาะของวัยนี้อย่างมากต้องใช้เหตุผลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะความสงวัยของเขาเป็นความสงสัยทาง
 เหตุผล เนื้อหาให้สัมพันธ์กับชีวิตและปัญหาของชีวิตทั้งในด้านส่วนตัวครอบครัวและสังคม แนะเขาให้เห็นคุณค่าของทุกสิ่ง คุณค่าของตัวเขาเอง คุณค่าของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และคุณค่าของสิ่งสูงสุดคือพระเจ้า ชี้ให้เขาเห็นว่าพระเยซูเป็นวีรบุรุษของเราทุกคน บรรดานักบุญก็คือรูปแบบของคนเราที่ประสบผลสำเร็จในการติดตามองค์พระเยซูเจ้าสอนเขาให้รู้จักใช้เสรีภาพในทางที่ถูกต้อง เคารพนับถือผู้ใหญ่ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความร่วมมือในกิจกรรมคาทอลิกที่เรียกร้องความรัก  ความเสียสละและความอ่อนโยน รู้จักการสวดภาวนาและปฏิบัติกิจศาสนาได้ด้วยตัวเองหนุนใจเขาให้เข้มแข็งไม่ย่อท้อในอุปสรรค ให้เขาวางใจและมอบอนาคตของเขาไว้กับ
พระเจ้าด้วยการอธิษฐาน สอนเขาให้ยึดเอาพระคัมภีร์เป็นหลักการในชีวิต
จิตวิทยาคำสอนวัยผู้ใหญ่เริ่มแรก 21 - 25
ลักษณะเชิงบวกชอบสังคม
                             มีความสามารถที่จะอุทิศตัวเองทุ่มเทตัวเองให้กับงานใดงานหนึ่งที่ตนชอบ
                             มีความผูกพันกับสังคม
ลักษณะเชิงลบ
                              ความโดดเดี่ยว
                              หลีกเลี่ยงการอยู่กับคนอื่น มีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ ก้าวร้าว เกิดอคติฝังใจ
พฤติกรรม  : มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ รู้จักรับผิดชอบได้
คุณธรรมขั้นพื้นฐาน : ความรัก
บทบาทของพ่อแม่ : ยอมรับและอดทนต่อการตัดสินใจของพวกเขา
                            ใช้เหตุผลให้มากขึ้น ให้เกียรติเขา ให้โอกาสเขาในการปรึกษา
                             หารือเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ให้เขาตัดสินใจเรื่องของครอบครัวมากขึ้น
บทบาทของครูคำสอน : ช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจชีวิตแบบคริสตังอย่างแท้จริง
                                  ช่วยให้แสงสว่างแห่งคำสอนคริสตัง ฉายลงมายังความเป็นจริง
                                  แห่งชีวิตซึ่งมีอิทธิพลเหนือหนุ่มสาวมาก เช่น ความหมายของ
                                  ชีวิตฝ่ายกาย ความรักและครอบครัว บรรทัดฐานในการดำเนิน
                                  ชีวิตการงานและการพักผ่อน ความยุติธรรมและสันติภาพ
             วัยผู้ใหญ่เริ่มแรกนี้จะพยายามมุ่งเข็มชีวิต และความเป็นอยู่ของเขาทั้งหมดไปตามกฎ
และคุณค่าที่ตนเห็นว่าสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้คนวัยนี้พบว่ามีคุณค่าหลายอย่างในชีวิต
ที่ขัดแย้งกัน สิ่งนี้ทำให้เกิดการขัดแย้งภายในใจเกี่ยวกับคุณค่าเหล่านี้ซึ่งเขาพยายามแสวงหา
และทำให้เขาละทิ้งคุณค่าที่เห็นว่า ไม่สามารถแสดงออกได้ในชีวิตของผู้ใหญ่ การสอนคำสอน
ต้องช่วยให้พวกเขาค้นพบคุณค่าแท้ยิ่งที่ยิ่งมากขึ้น และตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง
การจัดให้มีกลุ่มสมาคมของคนในวัยนี้ นับว่าเป็นสิ่งสร้างสรรค์ให้พวกเขา ให้แสดงความคิดเห็น
และใช้พรสวรรค์ของตน กลุ่มจะช่วยให้พวกเขารักษาความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นแรงกระตุ้น
ให้เห็นคุณค่าต่างๆ ของชีวิตของตน
         สังคมปัจจุบันมองวัยรุ่นเป็นวัยที่วุ่นวายและมีแต่เรื่องแปลกๆ น่าเวียนหัวแต่จริง ๆ แล้ว
วัยรุ่นไม่ใช่วัยที่วุ่นและทำเรื่องแปลกๆ เป็นวัยที่เริ่มการเป็นผู้ใหญ่ คืออยู่ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
เท่านั้น วัยรุ่นนี้ไม่ใช่ปัญหาของสังคม ถ้าเราจะมาเรียนรู้และเข้าใจวัยรุ่น ให้เราเข้าใจเขา
เพื่อจะได้นำเขาได้
ปัญหาของวัยรุ่น
           คนที่มีลูกวัยรุ่นหรือกำลังเป็นวัยรุ่นอยู่ คงไม่ผ่านบทความนี้แน่ๆ วัยรุ่น คือวัยที่พ้นจากความเป็นเด็กจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิงส่วนใหญ่อายุประมาณ 13-18 ปีในบางประเทศที่พัฒนาทางจิตใจช้า จะกำหนดให้วัยรุ่นมีอายุสูงขึ้น เช่น ในประเทศไทยให้ได้ ถึง 24 ปีวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและฮอร์โมนทางเพศรูปร่างและสรีระก็แปลกไปจิตใจก็ว้าวุ่น คิดแปลกๆ ฝ่ายหญิงเริ่มมีประจำเดือน ฝ่ายชายเริ่มมีอสุจิการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยังพอจะอธิบายให้ฟังได้ง่ายๆแต่ทางจิตใจนี่ซิอธิบายยาก คนที่ผ่านวัยรุ่นแล้วก็มักจะลืมไปคนที่กำลังเป็นวัยรุ่นก็เรียบเรียงไม่ถูกลองมารู้จักจิตใจของวัยรุ่นว่าเป็นอย่างไรบ้าง
 1.ต้องการความรักมากมายมักคิดว่าไม่ค่อยมีคนรักตัวเอง อยากให้พ่อแม่ คนใกล้ชิดเข้าใจและรักเขามาก ๆ
 2.ต้องการความสนุกสนาน เป็นอิทธิพลของฮอร์โมนทางเพศ ที่เริ่มเป็นวัยรุ่น  จะอยากเบิกบาน สนุกสนาน ชอบเล่นอะไรแปลกๆ แผลงๆ บ้าง ถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจ จะมองดูเป็นปัญหาทันที
 3.อ่อนไหวง่าย ชอบเพ้อฟัน ดังนั้นวัยรุ่นกับเรื่องเพลงและดนตรีจึงไปกันได้ดีเทปเพลงดังๆ ที่ขายดี ก็ขายวัยรุ่นนี่เองเวลาเขาฟังเพลงและเพ้อฝันบ้าง  ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจอาจจะนึกว่าเขาบ้าก็ได้
 4.อุดมคติสูง มองชีวิตในแง่ดี อยากถูกยกย่อง บางทีจะรับอาสาทำสิ่งที่ยาก ๆ  เพื่ออุดมการณ์ ชักจูงง่ายวัยรุ่นตายไปด้วยคำว่า อุดมการณ์” นี้มากมาย
 5.สนใจเรื่องเพศและความรักมากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้นผู้ใหญ่ต้องหาทางอธิบายอย่างเหมาะสม
 6.อาจทำดีที่สุดถึงเลวที่สุดได้ เป็นพวกที่เปลี่ยนใจง่ายโลเล การใช้เหตุผลยังไม่ดีพอ
 7.หลงง่าย เบื่อง่าย คลั่งง่าย บูชาอะไรง่ายๆ การตลาดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงพยายามสร้างสื่อโฆษณาโดยการใช้นักร้องหรือคนที่วัยรุ่นรักและคลั่งเป็นตัวแสดงเพื่อให้วัยรุ่น คลั่ง” ผลิตภัณฑ์ของเขาด้วยวัยรุ่นจะตัดสินใจซื้ออะไรๆ ได้ง่าย ๆ กว่า ผู้ใหญ่ ก็ด้วยความคลั่งนี่เอง
 8.เวลาเกลียดก็เกลียดมาก เวลารักก็รักมาก
 9.เศร้ามากกว่าปกติ เพราะเพ้อฝันมาก เวลาผิดหวังจึงเศร้ามาก
 10.ต้องการการยอมรับในกลุ่มเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ชอบแต่งกายและทำกิริยาตามเพื่อนพ่อแม่หลายๆ คน จึงน้อยใจหาว่าลูกไม่รักพ่อแม่ไปรักเพื่อนมากกว่าแต่เหตุการณ์นี้ จะเกิดในช่วงวัยรุ่นเท่านั้น หลังจากนั้นเขาจะหาเอกลักษณ์ของเขาเองและมีเหตุผลดีขึ้น
 11.ต้องการมีอิสระมากขึ้น ทั้งจากพ่อแม่ และโรงเรียนบางครั้งจะเห็นพฤติกรรมและคำพูดต่อต้านพ่อแม่ และโรงเรียนได้บ้าง ทั้งหมดนั้นเป็น ความปกติ” ของวัยรุ่นถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ จะมองว่าเป็นปัญหา
จิตวิทยาคำสอนวัยผู้ใหญ่สมบูรณ์
ลักษณะเชิงบวก
                       สร้างสรรค์ สืบทอดวัยมั่นคง มีลูกสืบทอดวงศ์สกุลนำทางให้คนรุ่นใหม่ได้
ลักษณะเชิงลบ
                       นิ่งเฉยเห็นแก่ตนเอง ไม่สร้างสรรค์ รักแต่ตนเอง มีใจแคบไม่ชอบสมาคมกับใคร
พฤติกรรม  : สร้างสรรค์
คุณธรรมขั้นพื้นฐาน : รัก รับผิดชอบ ห่วงใย เอาใจใส่ผู้อื่น
บทบาทของพ่อแม่ : เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นขวัญกำลังใจ
บทบาทของครูคำสอน : ช่วยผู้ใหญ่ให้ดำเนินชีวิตตามความรักแบบคริสตชนอย่างสมบูรณ์ และถ่ายทอดความเชื่อนี้สู่ลูกหลานต่อๆ ไปคนในวัยนี้ มีความสามารถที่จะผูกมิตรกับผู้อื่น  และสร้างความสัมพันธ์ต่อกันกับผู้อื่นได้ ความสามารถและความต้องการมิตรภาพนี้จะปรากฏให้เห็นเด่นชัด ทั้งในการงาน ในครอบครัว และความสัมพันธ์ในสังคม  และสิ่งเหล่านี้บางครั้งก็ส่งเสริม บางครั้งก็ขัดขวางการผูกมิตรความจริงในคนเรา เป็นต้น คนสมัยนี้มักจะรู้สึกโดดเดี่ยวมากการสอนคำสอนควรจะแสดงให้เห็นว่า พระเป็นเจ้าผู้เป็นองค์ความรัก เป็นผู้สร้างกลุ่มคริสตชน คือ พระศาสนจักรขึ้น และในขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นความปรารถนาที่จะผูกมิตรกับทุกคน คำสอนนั้นจะต้องช่วยเตือนคนที่แต่งงานแล้วว่า ความเป็นหนึ่งเดียวกันในศีลสมรสเป็นเครื่องหมายอันล้ำลึกของความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความรักระหว่างพระคริสต์เจ้าและพระศาสนจักร และเขาก็มีส่วนในธรรมล้ำลึกนั้นด้วย
จิตวิทยาคำสอนวัยผู้ใหญ่ช่วงสุดท้าย
ลักษณะเชิงบวก
                      ความมั่นคงยอมรับวัฏจักรแห่งชีวิตยอมรับว่าหลีกเลี่ยงความตายไม่พ้น
                      รู้สึกตนว่าพอแล้ว
ลักษณะเชิงลบ
                      ความท้อแท้ หมดหวังตีราคาชีวิตของคนสูงเกินไป ไม่ยอมรับความเป็นจริงของตน
                      คิดว่าคนอื่นต้องเป็นเหมือนตนอยากมีชีวิตมีโอกาสใหม่เพื่อแก้ไขตน กลัวความตาย
พฤติกรรม    :     เสียสละ มีใจเมตตา
 คุณธรรมพื้นฐาน    :     ความสุขุม รอบคอบ
 คนในวัยนี้มักจะถูกละเลย จากสภาพของร่างกายและตามสภาพของสังคมซึ่งมักถือว่า เขาตายไปแล้ว เพราะว่าไม่มีใครหวังอะไรจากผลงานของพวกเขาอีกต่อไปการสอนคำสอนควรช่วยคนชราให้มีความหวังแบบเหนือธรรมชาติว่าความตาย เป็นการย่างเข้าสู่ชีวิตแท้เป็นการย่างเข้าสู่ชีวิตแท้เป็นการพบกับพระผู้ช่วยให้รอด  ดังนี้คนชราก็จะสามารถเป็นเครื่องหมายของการสถิตอยู่ของพระเป็นเจ้า ของชีวิตที่ไม่รู้ดับ และของการกลับคืนชีพในภายหน้า นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งยุคสุดท้ายที่คนชราสามารถให้แก่โลกโดยการมีความเพียร อดทนกับตนเองและกับผู้อื่น โดยความมีใจกว้างขวาง โดยการสวดมนต์ภาวนาสรรเสริญพระเป็นเจ้า โดยการสละแล้วซึ่งความผูกพันกับสิ่งต่างๆ และโดยการวางใจในพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว
ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
                ๑. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ  โดยเฉพาะในงานราชการ  การทำหน้าที่จำหน้าและชื่อคนในบังคับบัญชาและลูกค้า  การปกครองให้คนร่วมมือกลมเกลียว  วิธีสอบสัมภาษณ์เลือกคนเข้าทำงานและการใช้คนให้เหมาะสมกับชนิดของงาน  วิธีเอาใจลูกค้าด้วยประการต่าง ๆ  ฯลฯ
                ๒. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา  จิตวิทยาวิเคราะห์ให้ทราบว่า  การเล่นคืออะไร  และบอกให้ทราบว่าเด็กคนไหนมีความเจริญทางจิตแค่ไหน    ควรเล่นอะไร จึงจะได้ประโยชน์  การให้กำลังใจในการเล่นกีฬาเป็นส่วนที่ช่วยให้คนเล่นกีฬาชนะเท่า ๆ กับกำลังกาย  ความรู้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ครูพละศึกษาและหัวหน้าชุดกีฬาประเภทต่าง ๆ  สามารถปลุกกำลังใจของผู้เล่นได้ถนัดมือขึ้น  จิตวิทยาของคนดูกีฬา  ดูละคร  หรือฟังปาฐกถา  ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีฬา  ผู้แสดงละคร   หรือแสดงปาฐกถาควรรู้ไว้
                ๓. จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น    ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่  ๓ ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม  (ก)  ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี  (ข)  ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น (ค)  นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา  และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ  ของผู้อื่น  เพื่อให้ทราบว่าเขามีท่าทีความรู้สึก  (ATTITUDE)   และอารมณ์อย่างไร
                ๔. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา    เพราะกำลังใจของคนไข้เป็นส่วนที่แพทย์และนางพยาบาลต้องนึกถึงไม่น้อยว่าการรักษาพยาบาลด้วยยา  ทั้งแพทย์และนางพยาบาลต้องมีอัตลักษณ์  (CHARACTER)  ที่อดทนต่อการจู้จี้ของคนไข้ได้โดยไม่ให้มีเรื่องสะเทือนจิตใจของตัวเอง  และต้องมีกุศโลบายร้อยแปดเพื่อเอาใจคนไข้โดยมิให้เสียถึงหลักการรักษาพยาบาล
                ๕. จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน  การสืบพยานเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่า ๆ  กับเป็นปัญหาทางกฎหมาย  ศาลห้ามทนายความไม่ให้ถามนำ  เพราะพยานมักจะรับการเสนอแนะจนทำให้ความจำเลอะเลือน   และไม่สามารถให้การได้ตามที่พยานรู้เห็นจริง ๆ  บางคนเอาสิ่งที่ตัวเห็นจริง ๆ ปนกับสิ่งที่ตัวนึกว่าเห็นโดยไม่มีเจตนาจะพูดเท็จ  เด็ก ๆ มักเป็นอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ศาลจึงไม่ถือว่าคำให้การของเด็กมีน้ำหนัก    การลงโทษจำเลยก็ต้องถือเอาเหตุจูงใจ   (MOTIVE)   เป็นเกณฑ์  การออกกฎหมายในรัฐสภา  มีเรื่องที่จะต้องนึกถึงในด้านจิตวิทยาของประชาชนไม้น้อย  เพราะจิตของ  กลุ่มชน”   ไม่ใช่จิตของอัตบุคคล  (INDIVIDUAL)  ทัณฑวิทยาใช้จิตวิทยามากที่สุดในการอบรมแก้ไขนักโทษให้กลับคือเป็นพลเมืองดี   ชีวะวิทยาได้ทดลองให้เห็นแจ้งแล้วว่า   นิสัยของบรรพบุรุษใกล้  ๆ  ไม่เป็นมรดกตกทอดทางสายโลหิตมาถึงลูกหลาน  ลูกโจรไม่จำเป็นต้องรับนิสัยโจรมาจากพ่อ  ถ้าพ่อไม่ได้เป็นผู้อบรม  นอกจากการเป็นโจรของพ่อเกิดจากความผิดปรกติทางสรีระวิทยาซึ่งอาจส่งผ่านสายโลหิตมาถึงลูกได้  เพราะฉะนั้นในทางทัณฑวิทยาเราจึงถือว่า  การให้การศึกษาใหม่ย่อมแก้นิสัยชั่วได้เสมอ
                ๖.  จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์  และการโฆษณาชวนเชื่อ  (PROPAGANDA)   การโฆษณาที่มีศีลธรรมเป็นกุศโลบายที่พ่อค้าใช้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงคุณสมบัติ  ลักษณะ  และที่จำหน่ายของสินค้าที่จะขาย  และในเวลาเดียวกันชักชวนให้ประชาชนมาซื้อสินค้านั้น  คติของการโฆษณามีอยู่ว่า  ผู้โฆษณาต้องไม่กล่าวเท็จ  จิตวิทยาให้แต่เพียงหลักของการใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจชักชวน   หลักของการใช้สีให้เป็นที่ชวนตาให้มอง  หลักของการวางแบบให้จำง่ายและนาน  และหลักการลงซ้ำเพื่อกันลืม  การโฆษณาเพื่อขายสินค้าเป็นธุระกับเอกชน  แต่การประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อซึ่งมักเป็นงานของรัฐเป็นธุระกับมวลชน  และไม่ต้องคำนึงถึงลักษณะกลาง ๆ  ของมวลชน  เพราะไม่ว่ามวลชนจะมีสภาพเป็นอย่างไร  ประโยชน์ของชาติต้องยิ่งใหญ่กว่าเสมอ   ในการโฆษณาเพื่อขายสินค้า  ผู้โฆษณาต้องหาลักษณะกลาง ๆ  ของมวลชน  เพื่อเสนอเรื่องราวของสินค้าให้ถูกใจเอกชนให้มากคนที่สุด